วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)

ลักษณะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
       ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร เป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างมาก ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ ลย หนองคาย นครพนม บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แผนที่ภาคอีสาน
ที่ตั้งและขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
      ทิศเหนือ  ติดกับประเทศลาว ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย              

มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
      ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศลาว ดินแดนที่อยู่ตะวันออกสุดคือ อำเภอโขงเจียม 

จังหวัดอุบลราชธานี มีแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
      ทิศตะวันตก  ติดต่อภาคกลาง ดินแดนที่อยู่ตะวันตกสุดคือ อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย 
มีเทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็นเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน
      ทิศใต้  ติดต่อกับประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออก ดินแดนที่อยู่ใต้สุดคือ  อำเภอครบุรี  

จังหวัดนครราชสีมา มีภูเขาพนมดงรัก และสันกำแพงเป็นพรมแดนกั้นเขตแดน

เขตภูมิศาสตร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       ประกอบด้วยเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้ เทือกเขาทิศตะวันตกมีความสูงเฉลี่ย 500-1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง มีความสูง 1,571 เมตร และภูกระดึงสูง 1,325 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำชี และลำตะคอง ทางด้านทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่างภาคอีสานของไทย กับกัมพูชา และลาว มีความสูงเฉลี่ย 400-700 เมตร ยอดเขาเขียวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ สูงประมาณ 1,292 เมตร
ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
      ลักษณะภูมิประเทศภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงเกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน ด้าน คือ ด้านตะวันตกและด้านใต้ของภาค ทำให้มีความลาดเอียงไปทางตะวันออก มีลักษณะคล้ายกะทะ แบ่งเป็น เขตใหญ่ ได้แก่
     1. บริเวณแอ่งที่ราบ 
         - แอ่งที่ราบโคราช เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลและชี ลักษณะเป็นที่ราบสูงสลับกับเนินเขา
         แอ่งสกลนคร อยู่ทางตอนเหนือของภาคตั้งแต่แนวเขาภูพานไปจนถึงแม่น้ำโขง มีแม่น้ำสงครามและห้วยน้ำก่ำไหลผ่าน 


                  à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง
    
    2. บริเวณเขตภูเขา 
        ภูเขาทางด้านตะวันตกของภาค วางตัวแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ ภูเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาดงพญาเย็น
        ภูเขาทางตอนใต้ของภาค ได้แก่ ภูเขาสันกำแพง ภูเขาพนมดงรัก
        ภูเขาที่แบ่งระหว่างแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร ได้แก่ ทิวเขาภูพาน 

แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
       1. แม่น้ำมูล มีความยาวประมาณ 641 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญของอีสานตอนล่าง ต้นน้ำอยู่ที่ทิวเขาสันกำแพง แล้วไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี
       2. แม่น้ำชี มีความยาวประมาณ 765 กิโลเมตร **เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ** 
มีต้นกำเนิดที่ทิวเขาเพชรบูรณ์ และไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่จังหวัดอุบลราชธานี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี

ภาพ : แสดงเส้นทางการไหลของแม่น้ำชี

ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      ลักษณะภูมิอากาศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือ  มีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง มีฝนตกปานกลาง 
      - ฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีอุณหภูมิต่ำสุด ได้แก่จังหวัดเลย 
      - ฤดูฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจากพายุดีเปรสชัน จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนมากที่สุดคือ นครพนม และจังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ นครราชสีมา
      - ฤดูร้อน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม อากาศจะร้อนและแห้งแล้งมาก เพราะอยู่ไกลจากทะเล จังหวัดที่ มีอุณหภูมิสูงสุดคือ อุดรธานี

ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
        1. ทรัพยากรดิน 
            ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายและขาดธาตุอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง  ไม่เหมาะในการเพาะปลูกพืช และทำนา 
        2. ทรัพยากรน้ำ 
            เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ
            เขื่อนสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่
          – เขื่อนสิรินธร อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี   กั้นแม่น้ำลำโดมน้อย อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี
          – เขื่อนจุฬาภรณ์ อยู่ในจังหวัดชัยภูมิ
          – เขื่อนอุบลรัตน์ อยู่ในจังหวัดขอนแก่น
          – เขื่อนลำปาว อยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์
          – เขื่อนลำตะคอง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
          – เขื่อนลำพระเพลิง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา
     3. ทรัพยากรป่าไม้
         ทรัพยากรป่าไม้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีป่าไม้เหลือน้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นป่าไม้ประเภทป่าแดง ป่าโคก ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง ถัดมาเป็นป่าเบญจพรรณและป่าทุ่ง เมื่อเทียบกับพื้นที่ภาคจังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ อุบลราชธานี และ จังหวัดที่มีป่าไม้น้อยที่สุดคือ มหาสารคาม
     4. ทรัพยากรแร่ธาตุ 
         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแร่ธาตุน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ แต่เป็นภาคที่มีเกลือหินมากที่สุด แร่ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่
             – เหล็ก พบที่จังหวัดเลย
             – แมงกานีส พบที่จังหวัดเลย
             – ทองแดง พบที่จังหวัดเลย และหนองคาย
             – เกลือหิน พบมากที่สุดที่จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี และยโสธร
             – โปแตช พบที่จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี
             – ยิปซัม พบที่จังหวัดเลย
             – ก๊าซธรรมชาติ  พบที่น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      จำนวนประชากร  เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดและจำนวนประชากรถึง ๒๑ ล้านคน มีประชากรมากที่สุดนประเทศไทย หรือ ประมาณ ๑ ใน ๓ ของประชากรทั้งหมดในประเทศ จังหวัดที่มีประชากรเกินล้านคนมีถึง ๑๐ จังหวัด คือ นครราชสีมา อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และสกลนคร
ทรัพยากรทางสังคม
      ประเพณี  ได้แก่ บุญเผวด ประเพณ๊การเล่นว่าว ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ ประเพณีบุญบั้งไฟ  การละเล่นผีตาโขน แห่เทียนพรรษา ประเพณีแห่นางแมว ประเพณีไหลเรือไฟ 
                        
                          
                       à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ แห่เทียนพรรษา
                     à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ แห่นางแมว  à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ไหลเรือไฟ
     อาหาร  ได้แก่  ข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง ต้มส้มปลาช่อน ก้อยดิบ  ต้มวัว กุ้งเต้น ลาบไข่มดแดง  แกงหน่อไม้ แกงเห็ด ลาบปลาตอง ก้อยขม 
                           


                        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น